การดูแลแผลกดทับ

การดูแลแผลกดทับ มีขั้นตอนการดูแลอย่างไร

การดูแลแผลกดทับ มีความสำคัญมากที่สุดในการที่จะช่วยให้ตัวของผู้ป่วยกลับมาเป็นปรกติ เพราะส่วนใหญ่แล้วคนที่เป็นโรคนี้ จะไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้เลย และยิ่งถ้าหากปล่อยเอาไว้นานเท่าไหร่ ก็จะเป็นอันตรายมากขึ้นเท่านั้น อย่างเช่นถ้าหากแผลเกิดการติดเชื้อขึ้นมา ก็มีความเสี่ยงสูงสุด ถึงขั้นเสียชีวิตได้เลย ดังนั้นการทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคนี้ รวมถึงแนวทางการดูแลรักษาที่ถูกต้อง จะเป็นตัวช่วยลดควมเสี่ยงได้ดียิ่งขึ้น 

ระดับของแผลกดทับทั้งหมด 4 ประเทศ 

สำหรับอาการของการเกิดแผลกดทับ จะแบ่งออกเป็นทั้งหมด 4 ระดับด้วยกัน แต่ละระดับก็จะมีความรุนแรงที่แตกต่างกัน ได้แก่ 

ระยะ 1 ลักษณะของแผลจะเป็นรอยแดงเท่านั้น โดยจะปรากฏให้เห็นตามผิดหวัง และจะไม่มีการจางหายไป และผิวหนังจะยังไม่มีการฉีกขาด 

ระยะ 2 ผิวหนังในส่วนที่เป็นแผล จะเริ่มเกิดความเสียหายบ้าง อาจจะเป็นแผลตื้นๆ ยังไม่ถือว่ารุนแรงเท่าไหร่ 

ระยะ 3 เป็นระยะที่ผิวหนังเริ่มถูกทำลายมากกว่าเดิม แผลจะมีการกินลึกลงไปจากชั้นผิวหนัง อาจจะไปถึงชั้นไขมันได้เลย และมักจะทำให้ผิวหนังทั้งหมดเสียหาย 

ระยะ 4 เป็นระยะที่รุนแรงมากที่สุด แผลจะมีความลึกมาก โดยจะลึกไปจนถึงชั้นไขมัน กล้ามเนื้อ หรืออาจะไปถึงชั้นกระดูกด้วย 

ขั้นตอนสำคัญในการดูแลผู้ป่วยแผลกดทับ 

จะเห็นว่าแผลกดทับ มีความรุนแรงหลายระดับ ถ้าหากดูแลรักษาที่ดี และถูกต้องด้วย ก็จะเป็นการลดความเสี่ยงให้น้อยลงได้ ขั้นตอนใน การดูแลแผลกดทับ มีทั้งหมดดังนี้คือ 

  • การตัดเนื้อส่วนที่ตายออก การตัดเนื้อในส่วนที่ตายออก จะช่วยให้แผลไม่มีการลุกลามไปยังส่วนอื่นๆ ที่ยังไม่โดนกิน โดยแพทย์ที่ทำการรักษา อาจจะเอาเนื้อส่วนอื่นมาปิดแทนบริเวณที่ตัดออกก็ได้ เป็นต้น 
  • การลดแรงกดทับของแผล วิธีการก็คือให้ตัวของผู้ป่วยได้เปลี่ยนท่าในการนอนอยู่ตลอดเวลา อาจจะทุก 1-2 ชั่งโมง เพื่อเป็นการลดแรงกดทับของแผลที่กดลงยังบริเวณที่เดิมเป็นเวลานาน เช่น การเปลี่ยนเป็นท่านอนตะแคง เป็นต้น 
  • การดูแลแผล เป็นการดูแลแผลตามลักษณะอาการที่ผู้ป่วยเป็น อย่างเช่น การหมั่นดูดซับน้ำที่ออกตรงบริเวณที่เป็นแผล การเลือกใช้วัสดุที่ปิดแผลที่มีประสิทธิภาพ คือไม่ให้มีการดูดติดแผลมากเกินไป ซึ่งจะเสี่ยงทำให้การดูแลรักษายากลำบากกว่าเดิม อีกทั้งยังเป็นตัวช่วยทำให้แผลหายเร็วยิ่งขึ้น ถ้าหากมีการใช้วัสดุปิดแผลที่เหมาะสม 

สรุป 

ทั้งหมดนี้ก็เป็นแนวทางใน การดูแลแผลกดทับ ที่ผู้ดูแลควรทำความเข้าใจ โดยเฉพาะกับคนในครอบครัว เพราะเป็นคนที่ใกล้ชิด และต้องดูแลอย่างสม่ำเสมอ ถ้าหากตัวของผู้ดูแลมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนการดูแล ก็จะเป็นการลดความเสี่ยงที่จะเกิดอาการแทรกซ้อน หรือว่าลุกลามไปยังส่วนต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น และที่สำคัญถ้าหากดูและได้ถูกวิธี อาการของแผลกดทับ ก็จะหายได้เร็วขึ้น ตัวของผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ปรกติเช่นเดิม หากไม่มีความรู้ความเข้าใจมากพอ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องสอบถามกับแพทย์ที่ทำการรักษา เพื่อขอทราบแนวทาง